ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ อุปกรณ์ปกป้องทางเดินหายใจ

หน้ากากอนามัย

การ ไอ จามแต่ละครั้งจะทำให้เชื้อโรคแพร่กระจายออกไปได้ไกลถึง 3 ฟุต และมีชีวิตลอยปะปนอยู่ในอากาศ ทำให้ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดมีโอกาสได้รับเชื้อ จากงานวิจัยขององค์การอนามัยโลกพบว่า การใส่หน้ากากอนามัยสามารถลดการแพร่กระจายของอณูเล็กๆ ที่มีเชื้อโรคปนเปื้อนได้ถึงร้อยละ 80 ควรใส่หน้ากาก อนามัยเมื่อจำเป็นต้องออกไปในที่ชุมชนหรือต้องอยู่ร่วมกับผู้อื่นในที่ สาธารณะ เช่น ห้องเรียน ห้องทำงาน ห้างสรรพสินค้า โรงภาพยนตร์ โรงแรม โรงพยาบาล รถโดยสาร เครื่องบิน โดยเฉพาะในห้องปรับอากาศ ฯลฯ แต่ไม่จำเป็นต้องใส่หน้ากากอนามัยเมื่ออยู่คนเดียว วิธีที่จะช่วยป้องกันทั้งการแพร่เชื้อและการติดเชื้อได้ก็คือ การใช้หน้ากากอนามัย และการล้างมือบ่อยๆ

 

การเลือกใช้หน้ากากอนามัย

หน้ากากอนามัยมีด้วยกันหลายชนิดการเลือกใช้อย่างเหมาะสมจะสามารถป้องกันการติดเชื้อทางเดินระบบหายใจ และยังสามารถป้องกันอันตรายจากพิษของฝุ่นบางประเภทได้ด้วย หน้ากากป้องกันการติดเชื้อที่ดีต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

  1. - สามารถกรองที่มีขนาดตั้งแต่ 1µ ประสิทธิ์ภาพในการกรอง 95% ที่อัตราการไหลเวียนของอากาศ 50 ลิตร/นาที(คำอธิบาย ขนาดของเสมหะมี 1-5µ ดังนั้นหน้ากากต้องกรองเสมหะที่มีขนาดเล็กที่สุด อัตราการไหลเวียน 50 ลิตร/นาที่เป็นปริมาตรของอากาศที่ไหลผ่านเข้าออกเมื่อคนสวมหายใจในขณะออกกำลังกาย)
  2. - หน้ากากต้องสามารถทดสอบการรั่วได้ไม่เกิน 10%
  3. - หน้ากากที่ดีต้องสวมใส่ได้กับทุกคนโดยทั่วไปไม่ควรจะมีขนาดมากกว่า 3 ขนาด
  4. - ต้องสามารถทดสอบว่าหน้ากากมีความสมบูรณ์เพียงใดก่อนการใช้ทุกครั้ง

 

ชนิดของหน้ากาก

 
    1. หน้ากากที่ใช้สวมในขณะผ่าตัด Surgical mask เป็นหน้ากากทีสวมขณะผ่าตัดเพื่อป้องกันเลือด หรือเสมหะของผู้ป่วยที่จะกระเด็นเข้าปากและจมูกของหมอผ่าตัด และป้องกันเสมหะหรือน้ำลายของแพทย์ที่จะไปปนเปื้อนบริเวณที่จะผ่าตัด  สามารถกรองอนุภาคได้ 5 ไมครอน จึงสามารถกันเชื้อโรคได้บางชนิด เท่านั้น โดยทั่วไปแล้วหน้ากากชนิดนี้จะใช้สำหรับกันการไอจามของผู้ป่วยออกสู่ภายนอก แต่ไม่สามารถใช้หายใจในสถานที่ที่มีเชื้อโรคหรือไวรัสที่มีขนาดเล็กได้ 
    2. หน้ากากที่ใช้ครั้งเดียว Disposable Particulate Respirators ตามมาตรฐานของ NIOSH จะมีชนิด N,R,P และมาตรฐานยุโรป EN --P1,P2,P3 ซึ่งจะมีหรือไม่มีช่องสำหรับหายใจออก (exhalation valve) ก็ได้ โดยหน้ากากอนามัยที่เหมาะจะใช้สำหรับการป้องกันเชื้อไวรัส ได้แก่ หน้ากากอนามัยชนิด N95 (Niosh) หรือ P2 (EN) ซึ่งมีประสิทธิภาพในการกรองอนุภาคได้ถึง 0.3 ไมครอน และประสิทธิภาพในการกรอง 95%       

อย่างไรก็ตาม อาจพบปัญหาจากการใช้หน้ากากอนามัยชนิด N95 ได้ในผู้ป่วยที่เป็นโรคหอบหืด โรคปอดและทางเดินหายใจ และหญิงตั้งครรภ์ เนื่องจากลมหายใจจะผ่านเข้าออกได้ยากขึ้นเนื่องจากแรงต้านภายใน นอกจากนี้ หน้ากากอนามัยชนิด N95 ออกแบบมาสำหรับผู้ใหญ่ หากนำมาให้เด็กใช้ ต้องดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษ

ข้อดีของหน้ากากชนิดนี้

  • - ใช้แล้วทิ้ง ไม่จำเป็นต้องมีอุปกรณ์สำหรับทำความสะอาด
  • - น้ำหนักเบาและสวมใส่ง่าย

ข้อเสียของหน้ากากชนิดนี้

  • - เนื่องจากการหายใจเข้าจะทำให้เกิดความดันในหน้ากากต่ำกว่าภายนอน อากาศอาจจะเล็ดรอดทางรูรั่วได้
  • - หน้ากากที่มีท่อสำหรับหายใจออกไม่เหมาะที่จะใช้ในห้องผ่าตัดเพราะจะทำให้บริเวณผ่าตัดสกปรก
 N95  

ไม่มีท่อหายใจออก

 

มีท่อหายใจออก

 

  1. หน้ากากชนิดเปลี่ยนไส้กรอง  เป็นหน้ากากที่สามารถเปลี่ยนไส้กรองอากาศได้ สามารถนำมาใช้ใหม่ แต่ต้องหมั่นทำความสะอาดแบ่งเป็นสองชนิดคือ

A หน้ากากครอบครึ่งหน้า Half-Mask Replaceable Particulate Filter Respirator อาจจะมีที่กรอง 1-2 ช่อง อาจจะต้องใช้ร่วมกับแว่นกันใบหน้า

ข้อดีของหน้ากากชนิดนี้

  • - น้ำหนักเบา ใช้ได้สะดวก
  • - หน้ากากนี้ทำด้วยยางใช้ได้นาน สามารถเปลี่ยนไส้กรองก็นำมาใช้ใหม่

ข้อเสียของหน้ากากชนิดนี้

  • - ต้องหมั่นตรวจสอบรอยรั่ว การเสื่อมของหน้ากาก การทำความสะอาด
  • - เนื่องจากการหายใจเข้าอาจจะทำให้การรั่วของอากาศโดยไม่ผ่าไส้กรอง
  • - สื่อสารกับคนอื่นลำบาก
  • - ไม่สามารถใช้ในห้องผ่าตัด

หน้ากากครอบเต็มหน้า Full Facepiece Replaceable Particulate Filter Respirator เหมือนกับชนิดข้างบนแต่มีที่สำหรับกันใบหน้า

ข้อดีของหน้ากาก

  • - การรั่วของอากาศน้อยกว่าชนิดครึ่งหน้า
  • - สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ โดยการเปลี่ยนไส้กรอง
  • - ป้องกันตาจากการกระเด็นของเสมหะ

ข้อเสียของหน้ากากชนิดนี้

  • - ไม่สามารถใช้ในห้องผ่าตัด
  • - ต้องมีการทำความสะอาด ตรวจสอบรอยรั่ว
  • - อาจจะมีการรั่วของอากาศ
  • - การสื่อสารทำได้ลำบาก
  • - ต้องใช้แว่นตาชนิดพิเศษ 
Loading...