การเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันใบหน้าและดวงตา และการดูแลรักษา
1. ต้องแน่ใจว่าแว่นตานิรภัยที่สวมอยู่เหมาะพอดีกับสายตา ดั้งจมูก และความยาวของขากรอบแว่น แว่นตานิรภัยควรจะปรับให้พอดีสำหรับแต่ละบุคคล
2. ใส่แว่นตานิรภัยที่ขากรอบแว่นพอเหมาะกับใบหู และกรอบพอเหมาะกับดั้งจมูกพอดีจะทำให้กรอบแว่นอยู่ติดกับหน้ามาที่สุด
3. ทำความสะอาดแว่นตานิรภัยทุกวัน โดยปฏิบัติ ตามคู่มือของผู้ผลิต หลีกเลี่ยงการเช็ดถูแรงๆ บริเวณเลนส์ เพราะอาจทำให้เลนส์เป้นริย มองเห็นไม่ชัดและทำให้เปราะแตกได้
4. เก็บแว่นตานิรภัยในสถานที่สะอาดและแห้ง ในที่ที่แว่นนั้นจะไม่ตกหรือถูกกระทบได้และเก็บไว้ในกล่องทุกครั้งที่ไม่ได้ใช้
5. เปลี่ยนแว่นตานิรภัยใหม่ หากเกิดรอยขีดข่วน รอยร้าว แตกหัก โค้งงอหรือใส่ไม่พอดี แว่นตาที่ชำรุดนอกจากจะทำให้มองภาพไม่ชัดเจนแล้วยังไม่สามารถป้องกันอันตรายได้
6. ควรมั่นใจว่าแว่นตานิรภัยที่ท่านเลือกเพื่อใช้งาน เป็นสินค้าที่ได้รับมาตรฐานสากลที่เชื่อถือได้
ข้อเปรียบเทียบของวัสดุที่ใช้ทำเลนส์แว่นตานิรภัย |
||
วัสดุ | ข้อดี | ข้อเสีย |
กระจก Glass | -ป้องกันรอยขีดข่วน -มองเห็นภาพได้ชัดเจน -กรองรังสีอินฟาเรด -มีเลนส์ออกแบบพิเศษให้เลือกจำนวนมาก |
-กันแรงกระแทกในระดับทั่วไป -เกิดรอยแตกง่ายจากการทดสอบแรงกระแทก -หนักกกว่าโพลีคาร์บอเนตและพลาสติก |
โพลีคาร์บอเนต Polycarbonet(PC) | -เป็นวัสดุที่แข็งแรงที่สุดสำหรับกันกระแทก -มีน้ำหนักเบา เบากว่ากระจก37% -มีความยืดหยุ่นมากกว่ากระจก -สามารถเปลี่ยนเลนส์ได้ง่าย -มองเห็นภาพชัดเจน 91% |
-เป็นรอยขีดข่วนง่ายกว่ากระจก -มีสีจำกัด |
พลาสติก Plastic | -แข็งแรงกว่ากระจก -มีสีให้เลือกมากกว่าโพลีคาร์บอเนต -มีน้ำหนักเบา เบากว่ากระจก 41% -เศษโลหะเกาะติดน้อยมาก |
-เป็นรอยขีดข่วนได้ง่ายกว่า โพลีคาร์บอเนต กันกระแทกได้น้อยกว่าโพลีคาร์บอเนต |